สำนักสหปฏิบัติฯ

เข้าใจ “แฝงแรก” เพื่อเป้าหมายคือ “แฝงหลัง” อ านาจฝัง-พลังแฝง : ในแฝงแรก  
ข้อมูล : ธวัช คณิตกุล เรียบเรียง : ดร.จอย 13 มิถุนายน 2563 สหปฏิบัติฯ  
  
 สรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งมวลต่างเชื่อมโยงสัมพันธ  กัน เป็นการแสดงออกของ ความหลากหลายแง่มุมของสัจธรรมอันเดียวกัน การรู้และเข้าใจต่อความสัมพันธ์ เชื่อมโยงของสรรพสิ่ง เป็นการเข้าใจต่อสัจธรรมหรือความเป็นธรรมดาของโลก ... ด้วยสิ่งต่างๆ ล้วนเปลี่ยนแปลง เลื่อนไหลตลอดเวลา สลับสับเปลี่ยนสอดรับซึ่งกัน และกัน เพื่อประสานสอดคล้องให้เกิดความกลมกลืน เฉกเช่น ความอาถรรพ์ในชีวิต มนุษย์ที่ต้องพบกับ อ านาจฝัง-พลังแฝง ความอาถรรพ์ในที่มีในตัวมนุษย์แต่ละคน เป็นเรื่องที่หลายคน คงอยากหาค า จ ากัดความ หาวิธีการแก้ไข บางคนบอกว่าความอาถรรพ์เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย ขยายความให้เข้าใจ อาจกล่าวง่ายๆ ว่า ความอาถรรพ์ในตัวมนุษย์แต่ละคนจะแสดง เป็นปรากฏการณ์ ที่แต่ละคนจะมีประสบการณ์ตรงกับอาถรรพ์นั้นในลักษณะที่ แตกต่างกัน บ้างก็แสดงปรากฏการณ์เป็นความบีบคั้นกดดัน บ้างแสดงอาการ แปลกๆ จนกลายเป็นคนประหลาด หรือที่เราอาจเรียกภาวะนี้แบบห้วนๆ ว่า “องค์ ลง”  ค าว่า “องค์” คือสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถพิสูจน์  
จับต้อง หรือคาดคั้นเอาความได้ แต่มีจริง เพราะ “องค์” เป็นค าที่มีความลึกซึ้ง แต่ ดูลึกลับ ทั้งนี้เราสามารถอธิบายเรื่อง “องค์” ผ่านองค์ความรู้ในเรื่องธรรมชาติ 2 ภาคของอาจารย์ธวัช คณิตกุ ลได้ โดยท่านกล่าวไว้ในเรื่อง อ านาจฝัง-พลังแฝง   
“อ านาจฝัง” นัยหนึ่งคือ “องค์” หากเปรียบเป็นพลังงานฟิสิกส์ ก็เป็น พลังงานศักย์ที่ฝังอยู่ในตัว เป็นพลังงานที่พร้อมใช้แต่ยังไม่ได้ถูกเอาออกมาใช้นั่นเอง หรือกล่าวแบบเทียบเคียง ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็น พลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นพลัง แห่งความศักดิ์สิทธิ์ที่ยังดิบอยู่ เรียกสั้นๆ ว่า “ศักดิ์สิทธิ์ดิบ”  ในขณะที่ “พลังแฝง” เมื่อกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พลังที่ทอแสงออกจากร่างกาย 
คนเราเปล่งประกายออกมาเป็น ออร์ร่า 3 ชั้น ชั้นแรกคือราศี ชั้นที่ 2 คือรัศมี และ ชั้นที่ 3 คือรังสี เมื่อน ามาเทียบเคียงเป็นพลังงานทางฟิสิกส์ เราเรียกพลังแฝงในขั้นนี้ ว่าเป็น “พลังงานจลน์” นั่นคือพลังงานที่พรั่งพรูออกมา เป็น “พลังแห่งศักยภาพ” แต่ก็เป็น “ศกัยภาพที่ยังเถื่อนอยู่” นั่นเอง    
 ทั้ง “ศักดิ์สิทธิ์ดิบ” และ “ศักยภาพที่ยังเถื่อนอยู่” เป็นพลังที่ยังไม่พร้อมใช้ งาน จะปรับพลังที่ยังไม่พร้อมใช้ให้เป็นพลังที่พร้อมใช้ ก็ต้องว่าด้วยเรื่องของ “ตัว แก้”  โดยตัวแก้ หรือตัวปรับ “อ านาจฝัง พลังแฝงที่ยังไม่พร้อมใช้” หรือ “ศักดิ์สิทธิ์ดิบ” และ “ศักยภาพที่ยังเถื่อนอยู่”  ก็สามารถแก้ หรือปรับได้ด้วย หมวดธรรมที่เรียกว่า อินทรีย  5 พละ 5   
 อินทรีย์ 5 พละ 5 เป็นองค์ธรรมที่ประกอบด้วยธรรมะที่ผสานสอดคล้องกัน 5 องค์นั่นคือ ศรัทธา – วิริยะ - สติ - สมาธิ – ปัญญา ในการท างานของอินทรีย์ 5 พละ 5 เริ่มจากศรัทธาคู่กับปัญญา วิริยะคู่กับสมาธิ และมีหลักกลางอยู่ที่สติ   “อ านาจฝัง” ที่เปรียบเป็น “ศักดิ์สิทธิ์ดิบ” พอปรับด้วยหมวดธรรมอินทรีย์ 5 พละ5 หรือ อินทรีย์พละ 5 ในคู่ “ศรัทธา-ปัญญา” โดยมีหลักกลางอยู่ที่สติ  
“ศักดิ์สิทธิ์ดิบ” จนถูกปรับเป็น “ศักดิ์สิทธิ์ที่สุกปลั่ง” หรือ “ศักดิ์สิทธิ์ดี” พร้อม กับการท างานของ เวทนา ปราน และราศีที่ลงตัว  
 “พลังแฝง” หรือ “ศักยภาพเถื่อน” พอปรับด้วยหมวดธรรมอินทรีย์ 5 พละ5 หรือ อินทรีย์พละ 5 ในคู่ “วิริยะ-สมาธิ” โดยมีหลักกลางอยู่ที่สติ จาก “ศักยภาพ เถื่อน” จะถูกปรับเป็น “ศักยภาพที่สุกปลั่ง” หรือ “ศักยภาพถูก” พร้อมกับการ ท างานของอารมณ์ ฮอร์โมน เคมีที่ลงตัว  
 อ านาจฝัง พอพัฒนาไปเรื่อยๆ ในรอบต่อๆ ไป ของการท างานของจิต และ การปรับพลังงานที่เลื่อนไหลจากศักดิ์สิทธิ์มาเป็นศักยภาพ และจากศักยภาพมาเป็น ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยศรัทธาและปัญญาโดยมีสติเป็นแกนกลาง จะกลายเป็น อนุสาสนีย ปาฏิหาริย  แต่อานุสาสนีย์ปาฎิหาริย์ในขั้นนี้ยังเป็น “อนุสาสนีย ปาฏิหาริย  -ที่ยังไม่ สมบูรณ ” ส่วนด้านพลังแฝง จากพลังงานจลน์ ก็กลายเป็นพลังฤทธิ์ ที่ถูกพัฒนาต่อ ด้วย วิริยะกับสมาธิ จนกลายเป็นอิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์ในเบื้องต้น   จากกฎของธรรมชาติที่ว่า “สิ่งต่างๆ ล้วนเปลี่ยนแปลง เลื่อนไหลตลอดเวลา สลับสับเปลี่ยนสอดรับซึ่งกันและกัน เพื่อประสานสอดคล้องให้เกิดความกลมกลืน เฉกเช่น ความอาถรรพ์ในชีวิตมนุษย์ที่ต้องพบกับ อ านาจฝัง-พลังแฝง” เมื่อพลังทั้ง สอง เกิดการเลื่อนไหล เปลี่ยนปรับสอดรับกับกระบวนการท างานของจิต ที่หยั่งลึก ลงไปยังจิตเดิมแท้ เกิดการผสานกันของพลังแฝงอ านาจฝังในลักษณะที่สมดุลย์ สอดคล้องทั้งการสร้างศูนย์สมดุลย์พลัง CP : Center of Potency และ CG : Center of Gravity  จะกลายเป็น อนุสาสนีย ปาฏิหาริย ที่สมบูรณ  ในที่สุด   ด้วยกระบวนการดังกล่าว จะท าให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเกิดการรับรู้ ต่ออ านาจพลังเหนือพลังที่ผ่านกระบวนการรับรู้เรียนรู้ และเกิดความผสาน สอดคล้องภายใต้จังหวะที่สมดุลย์ เกิดเป็นฐานที่มั่นคงใน “แฝงแรก-ทุกข สับสน” ก้าวข้ามสู่ “แฝงหลัง-สุขสะสม” อันเป็นเป้าหมายของการศึกษาเรียนรู้ด้วยการท า ความเข้าใจ สิ่งที่ดูลึกลับแต่ลึกซึ้ง (:-องค์) จนเกิดเป็นการพัฒนาศักยภาพในภายใน และพบกับความสุขสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งหมายถึง “แฝงหลังที่ฝังลึก” ซึ่งภาวะที่ เกิดขึ้นนี้ จะท าให้เราเข้าใจใน “ธรรมชาติ 2 ภาคที่ดูอย่างผิวเผินคล้ายกับว่า ขัดแย้งซึ่งกันและกัน แต่แท้จริงนั้นมันเกิดความสอดคล้องและกลมกลืนเป็นหนึ่ง เดียว”