สำนักสหปฏิบัติฯ

๑    ครุกรรม        หมายถึงกรรมหนัก กรรมฝ่ายดี คือสมาบัติ ๘ กรรมฝ่ายบาป คืออนันตริยกรรม ๕ ใครทำกรรมหนักไว้ภาพของ  กรรมหนักจะปรากฏให้เห็นในจิตก่อนกรรมอื่นๆ ส่วนใหญ่ครุกรรมใช้เรียกกรรมฝ่ายบาป อนันตริยกรรม ๕ ได้แก่ฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอริยะ ทำให้พระพุทธเจ้าพระโลหิตห้อ ทำคณะสงฆ์แตกแยก ส่วนใหญ่ครุกรรมใช้แทนกรรมฝ่ายบาป ใครทำกรรมหนักไว้ กรรมนี้เป็นกรรมหนักไม่มีลดหย่อนเทียบกับหมัดหนัก หมัดน๊อค การชดใช้ครุกรรมจะใช้แยกไม่เป็นกรรมรวมกับใคร ถึงจะบรรลุอรหันต์แล้วก็ยังต้องชดใช้ สำหรับกรรมธรรมดาที่เรียกว่ากรรม ๓ ซึ่งมักจะไม่รุนแรงนัก บางครั้งแค่กำหนดจิตสวดมนต์ภาวนา ระลึกคุณบิดามารดา หรือบูชาด้วยเครื่องเส้น บางทีก็หลุดพ้นแล้ว
๒.   อาจิณณกรรม    กรรมที่ทำจนชิน เป็นอาจิณ ทำจนเป็นนิสัยเป็นกรรมที่มีน้ำหนักรองลงมา
๓   อาสันนกรรม     กรรมที่ทำก่อนตาย
๔.   กตัตตากรรม     กรรมที่สักแต่ว่าทำ หรือทำด้วยเจตนาอันอ่อน น้ำหนักจึงน้อยสุด